นักวิจัย ผู้รอดชีวิต ผู้ให้คำปรึกษา และแพทย์ ร่วมประชุมเพื่อหารือนวัตกรรมในงานวิจัยโรคมะเร็งปอด การรักษา และการให้คำปรึกษาที่งานประชุมสัมมนาโรคมะเร็งปอดที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดในโลก

เมืองโตรอนโต, Sept. 26, 2018 (GLOBE NEWSWIRE) — ผู้ป่วย ผู้รอดชีวิต และผู้ให้คำปรึกษาร่วมกับนักวิจัยและแพทย์จากทั่วทุกมุมโลก เพื่อหารืออนาคตของโรคมะเร็งปอดที่สมาคมนานาชาติเพื่อการศึกษาวิจัยโรคมะเร็งปอด (IASLC) ครั้งที่ 19 ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาระดับโลกด้านมะเร็งปอด (World Conference on Lung Cancer หรือ WCLC) ที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา การแถลงข่าวครั้งแรกของการประชุมสัมมนาเป็นการแถลงหัวข้อสำคัญสั้น ๆ ของผู้เข้าร่วม ซึ่งครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ (มากกว่า 7,300 คน) และมีการทบทวนชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยที่ทำงานเพื่อเร่งการวิจัย ทำการประเมินข้อมูลการสำรวจด้านความต้องการของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งปอด และได้เน้นย้ำผลของการจัดทำข้อมูลรายละเอียดด้านจีโนมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย

การประชุมสัมมนาเปิดตัวด้วยข้อความต้อนรับของประธานร่วมของการประชุมสัมมนา นั่นคือ แพทย์หญิง Natasha B. Leighl วิทยาศาสตรบัณฑิต, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แพทย์หญิง Andrea Bezjak จาก FRCPC, วิทยาศาสมหาบัณฑิต และแพทย์หญิง Gail Darling จาก FRCSC ผู้ที่ทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อทำให้งานประชุมสัมมนาที่เมืองโตรอนโตของปีนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง

ชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยที่มียีนมะเร็งได้สร้างกระบวนทัศน์ใหม่สำหรับงานวิจัยมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก

เมื่อไม่นานมานี้ การทบวนของชุมชนผู้ดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นไปที่งานวิจัยมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC) ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านจีโนมที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเหล่านี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยการสนับสนุนผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งเพิ่มการตระหนักรู้และการให้ความรู้ รวมถึงการเร่งงานวิจัย ผู้ให้คำปรึกษากับผู้ป่วย Janet Freeman-Daily ผู้ก่อตั้งร่วมสำหรับชุมชนดังกล่าวที่รู้จักกันในชื่อ The ROS1ders นายแพทย์ Robert C. Doebele ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของภาควิชาวิทยาเนื้องอกทางการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด และแพทย์หญิง Christine M. Lovly ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแวนเดอบิลท์ (Vanderbilt University School of Medicine) ที่ได้ร่วมทีมเพื่อศึกษาและระบุถึงผลของกลุ่มผู้ป่วยที่มียีนมะเร็ง

Freeman-Daily กล่าวว่า “กลุ่มผู้ป่วยที่มียีนมะเร็งเหล่านี้ที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยกำลังนำพาวงการเข้าสู่ยุคใหม่สำหรับการร่วมมือการวิจัยโรคมะเร็งปอด โดยการร่วมงานกับนักวิจัย แพทย์ผู้รักษา กลุ่มผู้ให้คำปรึกษา และอุตสาหกรรม เราเร่งการวิจัยเข้าสู่โรคของเรา” สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่

ข้อมูลการสำรวจจากพันธมิตรด้านมะเร็งปอดที่เน้นถึงความสำคัญของความต้องการด้านอารมณ์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งปอดในระยะยาว

ข้อมูลการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า ผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งปอดที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบด้านอารมณ์ อันแตกต่างจากผลกระทบด้านร่างกาย เป็นปัญหาในระยะยาวที่ใหญ่หลวงกว่าสำหรับผู้รอดชีวิตภายหลังระยะเวลา 5 ปี Maureen Rigney ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ด้านคลินิกผู้มีอนุญาตและเป็นผู้อำนวยการของการริเริ่มการสนับสนุนพันธมิตรด้านมะเร็งปอด (Support Initiatives for Lung Cancer Alliance หรือ LCA) และทีมงานของเธอ ได้ดำเนินการสำรวจออนไลน์ด้านประวัติการรักษาและประวัติการสูบบุหรี่ของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 820 คน

Rigney กล่าวว่า “อาการเช่น การหายใจลำบากและอาการเหนื่อยล้า เป็นเพียงอาการข้างเคียงทางร่างกายบางอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา แต่สำหรับด้านอารมณ์แล้ว ผลของความวิตกกังวลที่มีต่อโรคมะเร็งปอดนั้นไม่หายไป แม้หยุดการรักษาแล้วก็ตาม”

อาการที่คงอยู่ยาวนานและพบได้บ่อยที่สุดจะรวมถึง อาการหายใจลำบาก อ่อนล้า ความจำสั้น และวิตกกังวล อัตราการอดชีวิตในระยะยาวของผู้ที่ตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคมะเร็งนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิธีที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่

การจัดทำข้อมูลรายละเอียดด้านจีโนมอย่างครอบคลุมที่ช่วยในการกำหนดทางเลือกการบำบัดรักษาแบบเฉพาะบุคคล

สิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า การจัดทำข้อมูลรายละเอียดด้านจีโนมอย่างครอบคลุม (Comprehensive genomic profiling หรือ CGP) เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการแนะแนวทางในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งรวมถึงการกำหนดวิธีการบำบัดรักษาและการลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อเข้าร่วมในการทดลองทางคลินิก

Kimberly Rohan ซึ่งเป็นเวชปฏิบัติพยาบาลที่ศูนย์มะเร็ง Edward (Edward Cancer Center) ที่เมือง Naperville รัฐอิลลินอยส์และทีมงานของเธอ ได้ทำการวิเคราะห์แบบย้อนหลังในผลลัพธ์ที่ CGP รวบรวมได้จากผู้ป่วย 46 รายที่วินิจฉัยพบโรคมะเร็ง ซึ่งระบุให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง 263 การเปลี่ยนแปลงในประชากรผู้ป่วยกลุ่มนี้

Rohan กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่ประสบความสำเร็จในเป้าหมายของเรา ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ได้มาในการจัดทำข้อมูลรายละเอียดด้านจีโนมสามารถมีผลหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร การค้นพบของเราที่พบว่า ผู้ป่วยในช่วงระหว่างร้อยละ 6 ถึง 13 ได้รับการส่งต่อให้เข้าร่วมในการทดลองทางคลินิก ซึ่งเกินการลงทะเบียนในการร่วมการทดลองทางคลินิกแห่งชาติ และเน้นย้ำถึงโอกาสสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง”
สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่นี่
สามารถดูการถ่ายทอดการจัดประชุมผู้สื่อข่าวประจำวันได้ที่นี่

เกี่ยวกับการประชุม WCLC
การประชุมสัมมนาระดับโลกด้านมะเร็งปอด (WCLC) เป็นงานประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดขึ้นเพื่อมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกอื่น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งดึงดูดนักวิจัย แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญกว่า 7,000 คนจากกว่า 100 ประเทศ การประชุมนี้จะครอบคลุมถึงแนวทางการกำหนดระเบียบและเปิดเผยผลลัพธ์งานวิจัยและการทดลองทางคลินิก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ http://wclc2018.iaslc.org/ ติดตามการประชุมสัมมนาผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย: #WCLC2018

เกี่ยวกับ IASLC
สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาโรคมะเร็งปอด (IASLC) เป็นองค์กรระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกอื่น ๆ ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 2517 สมาชิกของสมาคมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งปอดมากกว่า 7,500 รายจากทั่วทุกสาขาวิชาในกว่า 100 ประเทศ ซึ่งได้สร้างเครือข่ายระดับโลกที่ทำงานร่วมกันเพื่อพิชิตโรคมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกทั่วโลก นอกจากนี้ สมาคมยังตีพิมพ์วารสารJournal of Thoracic Oncology (วารสารมะเร็งวิทยาทางทรวงอก) ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ด้านการศึกษาและข้อมูลที่สำคัญสำหรับหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตรวจหาวินิจฉัยและรักษามะเร็งทรวงอกทั้งหมด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ www.iaslc.org  นอกจากนี้ คุณสามารถติดตาม IASLC ได้ผ่านทาง Twitter, Facebook, LinkedIn และ Instagram

ติดต่อ:  
Lisa Rivero  Becky Bunn, MSc
รองประธาน    ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์
lrivero@jpa.com| +1 617-657-1305 Becky.Bunn@IASLC.org | +1 720-254-9509

Ads